ค้นหาบล็อกนี้

Hotel Promotion

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ( วัดพระธาตุดอยสุเทพ)

ประวัติความเป็นมา
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป ในฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี

ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมากเสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล
          กล่าวถึงราชวงศ์มังราย เป็นวงศ์ของกษัตริย์ที่ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่มาตามลำดับ ซึ่งพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ต่อมาได้มีกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาตามลำดับ ดังนี้
      1. พญาเม็งรายมหาราช พ.ศ.1804 ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่
      2. พญามังคราม พ.ศ.1854 3. พญาแสนพู พ.ศ.1868       4. พญาคำฟู พ.ศ.1877       5. พญาผายู พ.ศ.1879       6. พญากือนา พ.ศ.1898 ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร       7. พญาแสนเมืองมา พ.ศ.1928       8. พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.1945       9. พญาติโลกราช พ.ศ.1984 ผู้ทำนุบำรุงวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร       10. พญายอดเชียงราย พ.ศ.2030       11 . พญาเมืองแก้ว พ.ศ.2038       12. พญาเมืองเกษกล้า พ.ศ.2068 ผู้ซ่อมแซมวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหารครั้งใหญ่       13. ท้าวชายคำ พ.ศ.2081 ผู้ก่อ สร้างเพิ่มเติมในวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหาร       14. พญาเมืองเกษกล้า พ.ศ.2086       15. พระนางจิรประภา พ.ศ.2088       16. พญูาอุปเยาว์ พ.ศ.2089       17. ท้าวแม่กุ พ.ศ.2094       18. พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ.2107-2121
หมายเหตุ
      พญาเมืองเกษเกล้า ปกครอง 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2121 พม่าได้เลิกแต่งตั้งกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย เพราะต้องไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ


การบูรณะครั้งแรก
      วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างโดยพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ในปี พ.ศ.1916 (ค.ศ.1373) วัดนี้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากกษัตริย์ไนราชวงศ์เม็งรายทุกพระองค์ ในแต่ละสมัยมีการซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุที่พระเจดีย์มีอายุถึง 15 ปี สมควรที่จะทำการสร้าง และปรับปรุงเสียใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ.2068 (ค.ศ.1525) พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์เม็งราย ได้ไปนิมนต์พระเถระรูปหนึ่งอยู่ที่วัดอโศการาม (วัดกู่มะลัก) จังหวัดลำพูนซึ่งเป็นพระที่ประชาชนเคารพนับถือมากองค์หนึ่ง ชื่อว่าพระมหาญาณมงคลโพธิ มาเป็นประธานในการบูรณะ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์โดยการขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมคือจากเดิม สูง 5 วา กว้าง 1-43 วา เป็นสูง 11 วา กว้าง 6 วา ซึ่งเป็นขนาดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

การก่อสร้างเพิ่มเติม
           นับจากที่ได้บูรณะครั้งแรกมาได้ 13 ปี คือ พ.ศ.2081 (ค.ศ.1538) พระเจ้าชายคำ พระโอรสของพระเจ้าเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ ได้ไปนิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิองค์เดิมมาเป็นประธานในการก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง โดยพระองค์ได้พระราชทานทองคำหนักประมาณ 1,700 บาท ให้ช่างทำเป็นแผ่นทองคำจังโกปิดทั่วองค์พระเจดีย์ และพระองค์ยังได้พระราชทานเงินสดอีก 6,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระวิหารด้านหน้า และด้านหลัง ศาลาระเบียงรอบองค์พระเจดีย์ทั้ง 4 ด้านและจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้
          ในปี พ.ศ.2100 (ค.ศ.1557) พระมหาญาณมงคลโพธิ แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังแข็งแรงดีและพร้อมที่จะทำงาน ท่านได้เป็นประธานก่อสร้างบันไดพญานาค ขนาดความยาว 306 ขั้น จากล่างถึงบน ท่านทำหน้าที่ควบคมงานก่อสร้างด้วยตนเอง ตัวพญานาคทั้ง 2 ข้าง ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งอย่างปราณีต พญานาคแต่ละตัวมี 7 หัว บันไดนาคนี้สร้างมานานกว่า 400ปี มีการชำรุดไปบ้างแต่ก็ได้รับการบำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา จนทำให้พวกเราทุกคนได้เห็นบันไดนาคอยู่ในสภาพเดิมตราบเท่าทุกวันนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น