ค้นหาบล็อกนี้

Hotel Promotion

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติเชียงดาว

อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
เป็นแนวเทือกเขาติดต่อจากดอยเชียงดาวและดอยผาแดง เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งรวมเรียกว่า ป่าทางด้านเหนือของประเทศ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิงและแม่แตง เรียกว่า ขุนน้ำปิงและขุนน้ำแม่แตง อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเชียงดาว ท้องที่อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ท้องที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจ คือ น้ำตกศรีสังวาลย์ น้ำตกปางตอง น้ำรูนิเวศน์ ถ้ำแกลบ ถ้ำตับเตา บ่อน้ำร้อนโป่งอาง ดอยผาตั้ง ดอยผาแดง จุดชมทิวทัศน์ยอดดอย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 721,825 ไร่ หรือ 1,154.92 ตารางกิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเชียงดาว ประชาชนรู้จักและคุ้นเคยกับสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาวมาก่อน อีกทั้งเป็นชื่อของอำเภอเชียงดาว ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อเสียง รู้จักกันแพร่หลาย มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก จุดชมวิว เป็นต้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ให้นายโชดก จรุงคนธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้น ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว ท้องที่อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้มีการสำรวจเพิ่มเติม ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และหน่วยงานอุทยานแห่งชาตินี้ได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติที่ กษ. 0713 (ชด)/9 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 ว่า อุทยานแห่งชาติเชียงดาว ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้ (นายไพโรจน์ สุวรรณกร) ให้อนุมัติให้ใช้ชื่อ “อุทยานแห่งชาติเชียงดาว” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 ทั้งนี้เพราะเป็นชื่อป่าสงวนแห่งชาติ และอำเภอเชียงดาว ซึ่งประชาชนรู้จักกันดี
ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ประชุมครั้งที่ 1/2538 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2538 มีมติเห็นชอบ ให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเชียงดาว โดยเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/5718 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 ยืนยันมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณป่าเชียงดาว ในท้องที่ตำบลเมืองนะ ตำบลทุ่งข้างพวง ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ตำบลเปียงหลวง ตำบลแสนไห บลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง และป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลศรีดงเย็นอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น และสำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีนำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายตามหนังสือที่ นร 0204/14602 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ภูเขาทางด้านตะวันออกส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินชั้น มีดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยถ้ำแกลบ ดอยหัวโท ดอยขุนห้วยไซ ดอยผาแดง ดอยถ้ำง๊อบ ดอยด่านฟาก เป็นต้น ภูเขาทางด้านตะวันตกส่วนใหญ่ เป็นเขตที่มีผืนป่าใหญ่ปกคลุมอยู่มีดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยกำพร้า ดอยปุกผักกา ดอยเหล็กจี ดอยสันกิ่วคมพร้า ดอยกิ่วฮูลม ดอยถ้วย ดอยยางกลอ เทือกเขาตอนกลางระหว่างห้วยแม่จกถึง บ้านหนองเขียวแนวเหนือ-ใต้ เป็นที่ราบลุ่มที่มีความสูงไม่มาก มีดอยถ้ำยุง ดอยขุนเป้า เป็นต้น พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 400-1,800 เมตร มียอดเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่มีความสูงสุดของพื้นที่ได้แก่ ดอยปุกผักกา มีความสูง 1,794 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติเชียงดาวเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก เพราะอยู่ในแนวทางที่มีร่องอากาศพาดผ่าน โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศโดยทั่วไปอากาศค่อนข้างจะร้อนในฤดูร้อนจะหนาวเย็นในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 7.5 องศาเซลเซียส และเฉลี่ยสูงสุด 26.7 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในฤดูฝน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 1,838.5 มิลลิเมตร โดยเดือนสิงหาคมจะมีฝนตกมากที่สุด ลักษณะอากาศที่ผิดปกติ ไม่มีภัยธรรมชาติร้ายแรงมากนัก ยกเว้นในช่วงฤดูฝนมักมีลมแรงจัด ในช่วงฝนตกหนัก มีลูกเห็บตกตามมา ทำลายผลไม้ให้เสียหายได้ และอาจมีน้ำไหลบ่าด้วยความรวดเร็ว มีปริมาณน้ำมากทำความเสียหายแก่เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง

พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายชนิด ชนิดป่าประกอบด้วย ป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ จำปีป่า ยาง ตะเคียน สมอพิเภก อบเชย ทะโล้ ไม้สนเขา ไม้เหียง ไม้พลวง ป่าผลัดใบ ได้แก่ เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ประดู่ แดงตะแบก ยอป่า เสลา ยมหิน ไผ่เวก ไผ่ป่า หญ้าชนิดต่างๆ เต็ง รัง ติ้ว แต้ว สมอไทย กระโดนฯลฯ
ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เพราะเป็นป่าผืนเดียวกับป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว สัตว์ป่าที่สำคัญประกอบด้วย กวางผา เก้ง หมูป่า วัวแดง กระทิง เม่น ค่าง อีเห็น กระรอก กระแต นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบชนิดต่างๆ คางคก อึ่งอ่าง เขียด ฯลฯ ส่วนใหญ่พบตามลุ่มน้ำ

น้ำตกศรีสังวาลย์
เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 10 - 12 เมตร มีความสูงประมาณ 10 - 15 เมตร มีน้ำตก 3 ชั้น ไหลลงเป็น 3 ช่วง เกิดจากขุนน้ำนาหวาย สภาพทั่วไปบริเวณน้ำตกมีพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บ้าง ตอนต้นน้ำพื้นที่ใกล้เคียงถูกแผ้วถางป่า ป่าโปร่งมีป่าไผ่แทรกอยู่บ้าง ตอนท้ายของน้ำตกยังมีสภาพดีอยู่ น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านนาหวาย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว ห่างจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1178 ตอนเมืองงาย-บ้านนาหวาย ประมาณ 150 เมตร แยกที่ กม. 24.5 อยู่ห่างจากอำเภอเชียงดาวประมาณ 35 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวกสบาย
กิจกรรม - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกปางตอง
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ซ่อนตัวอยู่ในป่ามีลักษณะเด่นสวยงามเฉพาะตัว เกิดจาก ลำน้ำขุ่นแม่งาย น้ำจะไหลลงจากเขาลอดลงรูไปใต้ดินระยะทางประมาณ 50 - 60 เมตร แล้วไหลออกจากรูลง หน้าผาเป็นน้ำตกกว้างประมาณ 10 เมตร มี 3 ชั้น 2 ช่วง บริเวณน้ำตกมีสภาพป่าเป็นธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ห่างจากถนนสายป้ายแม่จา-เปียงหลวง บริเวณ กม.ที่ 20 การคมนาคมสะดวกทุกฤดู
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก

ถ้ำแกลบ
เป็นถ้ำขนาดกลางเกิดจากเขาหินภายในถ้ำ มีความกว้างประมาณ 10 เมตร มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พื้นล่างเป็นทางน้ำไหลออกมาภายในถ้ำไหลออกทางหน้าถ้ำระยะทางเดินเข้าไปเท่าที่สำรวจได้ประมาณ 500 เมตร ผนังถ้ำด้านข้างตลอดทางมีลักษณะเป็นชั้นยื่นออกมาทั้งสองด้าน สันนิษฐานว่าเป็นลักษณะรางน้ำที่น้ำกัดเซาะจนแยกออกจากกันเป็นร่องน้ำ ผนังด้านบนมีหินงอกหินย้อย สวยงามสลับกันไป ด้านหน้าถ้ำเป็นพื้นที่ราบ ส่วนบนภูเขาใกล้เคียงมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณนี้อยู่ห่าง ถ้ำอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-อำเภอฝาง) ตรง กม ที่ 99 ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซึ่งห่างจากบ้านห้วยจะด่าน ประมาณ 60 เมตร
กิจกรรม - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำตับเตา
อยู่ตรงบริเวณบ้านตับเตา หน้าถ้ำเป็นวัดป่ามีอายุประมาณ 40-50 ปีขึ้นไป ลักษณะถ้ำเป็นถ้ำที่มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว จากการสำรวจด้านที่ติดกับเขามีลำห้วยไหลผ่านเข้าไปในเขตวัดน้ำใสสะอาดตลอดปี มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ สภาพป่าบริเวณใกล้เคียง สมบูรณ์มาก การคมนาคมสะดวกทุกฤดูกาล การเดินทางแยกตรง กม. ที่ 118 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) และมีถนนตรงไปถึงบริเวณวัดประมาณ 3 กิโลเมตร
กิจกรรม - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ดอยผาตั้ง
เป็นเขาหินสูงที่มีลักษณะเด่นในตัวคือ เป็นแท่งกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่มีความสวยงาม อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 93 ของทางหลวางแผ่นดินหมายเลขที่ 170 สายเชียงใหม่ - ฝาง ระยะทางเข้าไปถึงประมาณ 300 เมตร
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ดอยผาแดง
ถ้ำแกลบเป็นเขาหินสูงเรียงตัวกันไปมา ทำให้เกิดจุดเด่นเฉพาะมีลักษณะเป็นทิวทัศน์มีความสวยงาม อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 98 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์

บ่อน้ำร้อนโป่งอ่าง
เป็นบ่อน้ำร้อนขนาดเล็ก มีแก๊ส กำมะถัน และควันไอน้ำระเหยขึ้นมา มีน้ำไหลตลอดปี น้ำมีอุณหภูมิสูง 70-80 องศาเซลเซียส บ่อน้ำร้อนตั้งอยู่ในบริเวณทางเข้าหมู่บ้านบริเวณโป่งอ่าง แยก กม. 22 ของถนนเมืองงาย-บ้านนาหวาย ห่างจากทางแยกประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงบริเวณนี้มีนกหลายชนิดชุกชุม ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร
กิจกรรม - อาบน้ำแร่

จุดชุมวิวยอดดอย
อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 45 เส้นทางลาดยาง แม่จา-เปียงหลวง บริเวณนี้เป็นพื้นที่สวนป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำขุนคอง ส่องอนุรักษ์ต้นน้ำ สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ทั้งสองเขต คือ ทางด้านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาวและเขตอุทยานแห่งชาติเชียงดาว
กิจกรรม - ดูดาว - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

จุดชุมวิวยอดดอยถ้วย
อยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งยอดดอยถ้วยนี้เป็นจุดต้นน้ำลำห้วยแม่น้ำปิง ซึ่งเรียกว่า “ขุนปิง” สภาพป่าอุดมสมบูรณ์อากาศเย็นสบาย สามารถชมวิวทิวทัศน์ที่งดงามทั้งในเขตประเทศไทย และทิวเขาในเขตประเทศพม่า โดยเริ่มการเดินทางจากบ้านเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว ไปตามสันเขาถึงบริเวณฐานยอดดอยถ้วย ระยะทางเดินเท้าประมาณ 10 กิโลเมตร
กิจกรรม - ชมทิวทัศน
ต้นกำเนิดแม่น้ำปิง มีลักษณะเป็นธารน้ำเล็กๆ ไหลออกมาจากภูเขา ชาวบ้านเชื่อว่าต้นน้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนฤดูทำนาทุกปีจะจัดพิธีไหว้และพิธีบวชป่าชุมชนขึ้นที่นี่

น้ำตกทุ่งแก้ว
เป็นน้ำตกหินปูนอีกแห่งหนึ่งที่มีความสวยงามพอสมควร สูงประมาณ 15 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 8 กิโลเมตร
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก

ถ้ำลม
สาเหตุที่เรียกว่า “ถ้ำลม” เนื่องจากทางลงไปในถ้ำจะมีลมเข้ามาปะทะบางเบาพอให้รู้สึกตัวตลอดเวลา ทำให้อากาศภายในถ้ำโปร่งและเย็นสบาย ถ้ำลม เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำแบ่งเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ 5-6 ห้องโถง แต่ละห้องโถงอยู่ห่างกันประมาณ 30-40 เมตร มีหินงอกหินย้อยลักษณะสวยงามแปลกตา ระยะทางเดินภายในถ้ำประมาณ 1,500 เมตร ในฤดูฝนจะมีธารน้ำไหลมีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ถ้ำลมอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1178 ประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าหมู่บ้านเมืองนะเหนืออีก 19 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร ถึงปากทางเข้าถ้ำลม
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก

ถ้ำผาชัน
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 1 ชั่วโมง
กิจกรรม - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำดอยกลางเมือง
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 1 กิโลเมตร ทางเข้าถ้ำเป็นหน้าผาสูง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 22 กิโลเมตร โดยเดินทางไปที่บ้านเมืองนะ แล้วเดินเท้าไปอีกประมาณ 2 ชั่วโมง
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

การเดินทาง
รถยนต์
ปัจจุบันการคมนาคมได้รับการพัฒนาการก่อสร้างทางถนนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การเดินทางไปตามจุดต่างๆ สะดวกรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดให้ท้องที่เชียงใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยสามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง ดังนี้
• เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ช่วงถนนที่อยู่ติดเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ช่วงบ้านปิงโค้ง (กม.83) อำเภอเชียงราย-แยกเข้าบ้านตับเตา (กม.118) อำเภอไชยปราการ
• เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1178 ตอนแยกเมืองงาย กม. 79 บ้านนาหวาย กม. 24 ระยะทาง 24 กิโลเมตร และจากบ้านนาหวาย กม. ที่ 24 - บ้านเมืองนะ ระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร ใช้งานได้ทุกฤดูกาล
• ถนน กปร. กลาง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เข้าบ้านห้วยจะด่าน (แยก กม. ที่ 99 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
ต.เมืองนะ อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่ 50170
โทรศัพท์ 0 5326 1466 อีเมล reserve@dnp.go.th

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร

ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป

ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยด่วน

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 80 ของประเทศ



ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและหุบเขาสลับกัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ของเทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่มีการแทรกดันของหินหนืด และแรงบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้พื้นผิวโก่งงอกลายเป็นภูเขาและเทือกเขา และมีหุบเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนที่ทรุดต่ำลง รวมทั้งได้มีการสึกกร่อนที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และทางเคมี ตลอดจนการทับถมของตะกอนน้ำพาทำให้เกิดเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,962 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแตงและแม่น้ำปาย จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ชั้น A ถึงชั้น 1A มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยเหี้ยะ ห้วยแม่ยะ ห้วยฮ่อม ห้วยน้ำดัง ห้วยแม่สลาหลวง ห้วยโป่ง น้ำงุม ห้วยแม่แพลม ห้วยงู ห้วยแม่เย็นหลวง ห้วยน้อย ห้วยฮ่อม ห้วยหก ห้วยแม่ฮี้ ห้วยขาน ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง เป็นต้น



ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ป่าอยู่ในเขตมรสุม กล่าวคือ พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมสะวันตกเฉียงเหนือนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุไซโคลน ด้วยจึงทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดูดังนี้

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 24 องศาเซลเซียสและ ต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,134 มิลลิเมตร ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้


พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังสภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วย

ป่าดิบชื้น ขึ้นปกคลุมสองฝั่งของลำน้ำในพื้นที่ที่มีความสูง 500-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เติม อวบดำ หว้า งิ้วป่า ปอตูบหูช้าง ผ่าเสี้ยน มันปลา เปล้าใหญ่ ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ เอื้องหมายนา มันดง ม้าสามต๋อน เฒ่าหลังลาย หญ้าถอดบ้อง ตองกง เครือออน กลอย สายหยุด หัสคุณ ออสมันด้า และ เล็บเหยี่ยว เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ทีเป็นหุบเขาและพื้นที่ลาดชันที่สภาพอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูงตลอดปี ในระดับความสูง 1,650-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อกระดุม ก่อแดง สนสามใบ เม็ดชุนตัวผู้ ช้าส้าน มะมือ ก่วม เต้าหลวง จำปีหลวง มณฑาป่า เหมือดดง เดื่อปล้องหิน ตะไคร้ต้น สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง กะทัง ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่าง ได้แก่ กล้วย ต่างไก่ป่า พลูช้าง พญาดง หญ้าคมบาง ตองกง พริกไทย ดาดตะกั่ว และกาหลา เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กาสามปีก กุ๊ก แคหัวหมู แดง ตะคร้ำ ประดู่ มะเกลือ มะกอก ตังหน ชิงชัน โมก ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ คนทา คัดเค้าเครือ เฒ่าหลังลาย เต่าร้าง ผักแว่น สะบ้าลิง สาบเสือ บุก ลิเภา ชายผ้าสีดา เกล็ดปลา หญ้าขัด และพ่อค้าตีเมีย เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง เหียง พลวง รัง รกฟ้า พะยอม ตีนนก ติ้วขน สมอไทย ส้านใหญ่ มะขามป้อม ยอป่า แสลงใจ เค็ด ฯลฯ ไม้พุ่มและไม้พื้นล่าง ได้แก่ กะตังใบ โสมชบา กระมอบ หนาดคำ ตาฉี่เคย ข้าวสารป่า และยาบขี่ไก่ เป็นต้น

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า หมีควาย เก้ง กระจงเล็ก เลียงผา หมูป่า แมวดาว ชะมดเช็ด ลิงวอก ชะนีมือขาว พังพอน เม่นใหญ่ ไก่ป่า ไก่ฟ้าสีเงิน นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกปรอดคอลาย เหยี่ยวต่างสี กะท่าง เต่าปูลู เต่าใบไม้ ก้งก่าแก้ว แย้ ตะกวด งูเหลือม งูเขียวดอกหมาก งูเห่า กบทูด ปาด เขียดป่าไผ่ และอึ่งลาย เป็นต้น ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ พบปลาจาด ปลามอน ปลาเลียหิน ปลาเวียน ปลาค้อ ปลาค้างคาว ปลาติดหิน และปลาก้าง เป็นต้น
การท่องเที่ยวนั้นข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเพื่อให้เกิดความสะดวกมากขึ้นในส่วนของข้อมูลนี้ต้องขอขอบคุณอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังหรือหากมีข้อสงสัยในการท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังก็ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังหมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150โทรศัพท์ 0 5324 8491, 0 5326 3910, 08 4908 1531 (มือถือ) โทรสาร 0 5324 8491 อีเมล h.namdang_np@hotmail.com

อุทยานแห่งชาติออบขาน

อุทยานแห่งชาติออบขาน
อุทยานแห่งชาติออบขาน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 302,500 ไร่ หรือ 484 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง ท้องที่ตำบลสะเมิงใต้ ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขาน-แม่วาง ท้องที่ตำบลแม่วิน ตำบลบ้านกาด ตำบลดอนเปา ตำบลทุ้งปี้ อำเภอแม่วาง ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง และป่าท่าช้าง-แม่ขนิล ท้องที่ตำบลน้ำแพร่ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงที่สุด ได้แก่ ยอดขุนเตียนสูง 1,550 เมตร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม ได้แก่ ออบขาน ออบไฮ ผาตูบ ถ้ำตั๊กแตน ถ้ำห้วยหก น้ำตกแม่สะป๊อก และน้ำตกขุนวิน นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าที่สำคัญอีกหลายชนิด
ความวิกฤตการณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะจากภัยธรรมชาติ เช่น เหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2531 ส่งผลให้มีพระราชกำหนดปิดป่าสัมปทานทำไม้ (เฉพาะป่าบก) ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยให้กรมป่าไม้ดำเนินการตามนโยบายโดยรีบด่วน เมื่อพิจารณาแล้วกรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 สั่งให้ข้าราชการในสังกัดกองอุทยานแห่งชาติ ออกไปสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ป่าจำนวน 28 แห่ง ทั่วประเทศ ในจำนวนนี้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง ป่าแม่ริม และป่าแม่สะเมิง ป่าแม่ขาน-แม่วาง ป่าท่าช้าง-แม่ขนิล จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการสำรวจเบื้องต้น ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้ นายทวีชัย คำภีระ ไปสำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาเห็นชอบ ตามที่อุทยานแห่งชาติเสนอ คือ ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติออบขาน” ตามที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ประชุมครั้งที่ 2/2535 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2535 มีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติออบขาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 กรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนและหินอัคนีเรียงรายสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นแนวเทือกเขาติดต่อมาจากเทือกเขา ในเขตอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ภูเขาส่วนใหญ่จะไม่สูงมากนัก ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ ยอดขุนเตียน สูง 1,550 เมตร ดอยขุนห้วยพระเจ้า สูง 1,443 เมตร ดอยขุนวินสูง 1,424 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นต้น กำเนิดแม่น้ำ ลำห้วยสายสำคัญที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ได้แก่ น้ำแม่ขาน น้ำแม่วาง น้ำแม่เตียน ห้วยแม่วิน ห้วยแม่โต๋ ห้วยแม่ขนิล ห้วยหละหลวง เป็นต้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ลักษณะพื้นที่มีความลาดชันสูง โดยเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ราบขนาดเล็กตามริมแม่น้ำ ลำห้วย และที่ราบเชิงเขาเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่

ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างจะร้อนในฤดูร้อน อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว และมีฝนตกชุก เป็นช่วงระยะสั้นๆ ในฤดูฝน ฤดูร้อนค่อนข้างยาวนาน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง-ต่ำสลับซับซ้อน สภาพป่าจึงมีหลายประเภท ประกอบด้วย ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ในบริเวณพื้นที่ที่มีระดับความสูงประมาณ 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป จะเป็นป่าดิบเขา และป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กระบก กระบาก ยมหอม แดงน้ำ สมพง ยาง ก่อ จำปีป่า ทะโล้ อบเชย กำยวน สนสองใบ สนสามใบ สัก เต็ง รัง พลวง ประดู่ มะค่าโมง ยางนา ตะแบก ตะคร้อ ตีนนก สมอไทย และไผ่ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบพันธุ์พืชหายาก เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี
สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ เลียงผา เก้ง หมีขอ หมีควาย เสือปลา เสือไฟ กระจง อีเห็น กระต่ายป่า หมูป่า ชะนี ลิง นางอาย พังพอน เม่น หมาจิ้งจอก กระรอก กระแต หนูต่างๆ ตะพาบน้ำ เต่าปูลู ไก่ฟ้า และนกชนิดต่างๆ จำนวนมาก

สิ่งที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติออบขาน
อุทยานแห่งชาติออบขานมีสถานที่ที่เป็นจุดเด่นที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งมีออบถ้ำน้ำตก น้ำพุร้อน ภูมิทัศน์อันสวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี มีชีวภาพอันหลากหลาย ในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีถ้ำเป็นที่อาศัยของมนุษย์ยุคหิน มีซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ และภาพลายแทงตามถ้ำ มีวัดเก่าและเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมของชาวพื้นราบที่เจริญรุ่งเรือง และความหลากหลายของชายไทยภูเขา
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ
อ่างเก็บน้ำห้วยอีนูน อยู่บริเวณขุนน้ำแม่วาง
น้ำตกแม่วาง อยู่บริเวณขุนห้วยแม่เตียน
น้ำตกแม่เตียน อยู่บริเวณ ขุนห้วยแม่ป๋วย
น้ำตกมรกต ติดเทือกเขาดอยอินทนนท์
ภูเขาเทือกอินทนนท์ อยู่บริเวณเทือกเขาดอยสะเมิง
นอกจากนี้ยังมีภูเขาเทือกดอยสะเมิง หน้าผาดอยบ้านปง ภูเขาดอยบ่อแก้ว ถ้ำตั้กแตน หน้าผาดอยแม่วาง ดอยสะเมิง ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่ขาน น้ำพุร้อนแม่โต๋ ถ้ำผาลาย วัดหลวง

เส้นทางคมนาคม (ถนน)
ระยะทางจากจังหวัด เชียงใหม่ ถึงอำเภอหางดง ประมาณ 40.00 กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอหางดง ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติออบขาน 45.00 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 75 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 15 กิโลเมตร

บริการที่พัก
อุทยานแห่งชาติออบขานมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก มีสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวจำนวน 3 แห่ง พักได้ทั้งหมด 1000 คนและร้านสวัสดิการอุทยานฯ บริการอาหาร เครื่องดื่ม สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบขาน 34/1-2 ถนนเวียงบัว ซอยทานตะวัน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. (053) 215204 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร.5797223 , 5795734 หรือ โทร.5614292 - 4 ต่อ 724 , 725 หรือ

อุทยานแห่งชาติออบขาน
ต.น้ำแพร่ อ. หางดง จ. เชียงใหม่ 50230
โทรศัพท์ 08 6181 1068 อีเมล reserve@dnp.go.th

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
ข้อมูลทั่วไป
คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2532 กำหนดให้ปี พ.ศ. 2532-2535 เป็นปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และต่อมารัฐมนตรีมีนโยบายที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ในลักษณะของอุทยานแห่งชาติ ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติ จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ของส่วนอุทยานฯ มาสำรวจและจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มนำแม่ฝางท้องที่ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ ท้องที่ตำบลแม่ข่า ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ จังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา" มีเนื้อที่ประมาณ 455.9 ตารางกิโลเมตร หรือ 284,937.5 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เทือกเขาวางตัวในเแนวทิศเหนือ – ใต้ เป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่ – เชียงราย มียอดดอยสูงสุดคือ ดอยเวียงผา มีความสูง 1,834 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารและแหล่งกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง และสาขาหนึ่งของน้ำแม่ลาว เช่น ห้วยแม่ฝางหลวง ห้วยแม่ฝางน้อย น้ำแม่ยางมิ้น

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างช่วงเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม โดยจะมีฝนตกหนักในช่วงเดือน กันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงอากาศเย็นสบายเหมาะสำหรับเดินทางมาท่องเที่ยว ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 11.8 องศาเซลเซียส และสูงสุด 36.3 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ซึ่งป่าแต่ละชนิดเหล่านี้จะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป ในเขตอุทยานแห่งชาติตามระดับความสูงของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง ประดู่ ตะแบก เต็ง รัง จำปีป่า สนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ มอส เฟิน กล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญและหายากของเมืองไทยอาทิ เช่น มณฑาดอย กุหลาบพันปี กายอม ซึ่งสามารถพบเห็นได้บนยอดดอยเวียงผา
เนื่องจากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และขึ้นผสมปะปนกันอยู่หลายชนิด ตลอดจนระดับความสูงของพื้นที่ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 300-1,834 เมตร จึงทำให้เกิดแหล่งอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า เลียงผา เสือไฟ หมีควาย เม่น กระต่ายป่า ลิง อีเห็น กระรอก กระแต และนกนานาชนิด เช่น นกกงเขนดง นกพญาไฟ นกโพระดก นกกินปลี นกหัวขวาน ไก่ป่า และที่สำคัญยังสามารถพบเห็นสลาแมนเดอร์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งเป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

สิ่งที่น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา คือ
น้ำตกแม่ฝางหลวง
น้ำตกดอยเวียงผา
น้ำตกห้วยหาน
น้ำตกตาดเหมย
จุดชมวิวบนดอยเวียงผา

การเดินทาง
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 ไปทาง อ.ไชยปราการ ถึง กม.ที่ 125 บ้านแม่ขิ เลี้ยวขวาไปตามทางอีก 10 กม. จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

ค่าธรรมเนียมในการเข้าชมอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
ตู้ ปณ. 14 ปณจ.ไชยปราการ อ. ไชยปราการ จ. เชียงใหม่ 50320
โทรศัพท์ 0 7186 2118 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติแม่โถ

อุทยานแห่งชาติแม่โถ

ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่โถตั้งอยู่บนแนวเทือกเขาสูงที่ทอดตัวยาวต่อเนื่องมาจากดอยอินทนนท์ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และหลากหลายประเภท เหมาะสำหรับการชมธรรมชาติและเที่ยวเล่นน้ำตก อุทยานแห่งชาติแม่โถครอบลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 306,731 ไร่ หรือ 490.77 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้โดยกองอนุรักษ์ต้นน้ำ ได้ทำการสำรวจพื้นที่ล่อแหลมและพื้นที่ ถูกบุกรุกทำลายป่าจากชาวบ้านในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารทางภาคเหนือ และมีโครงการที่จะปลูกป่าเพื่อปรับปรุง พื้นที่ต้นน้ำที่ถูกทำลายให้กลับฟื้นคืนสภาพป่าดังเดิม โดยกำหนดให้มีโครงการจัดตั้งหน่วยพัฒนาและปรับปรุงต้นน้ำขึ้น จำนวน 10 หน่วย และได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 6 (ดอยแม่โถ) ขึ้นที่บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการปลูกป่าในบริเวณพื้นที่ภูเขาสูงที่เป็นต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลาย จนถึงปี พ.ศ. 2523 ได้ปลูกป่าเต็มพื้นที่ตามแผนงาน จึงได้ย้ายหน่วยย่อยแยกไปดำเนินการปลูกป่าที่ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยในพื้นที่ที่ปลูกป่าเต็มตามแผนงานแล้ว ยังคงดำเนินการตามแผนงานการบำรุงป่าต่อไป
ต่อมาในปี พ.ศ.2534 กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการสำรวจบริเวณพื้นที่ของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 6 และบริเวณใกล้เคียงเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และให้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่โถ” อุทยานแห่งชาติแม่โถได้นำเรื่องราวการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ลาย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแม่โถ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจแนวเขตอุทยานแห่งชาติ

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติแม่โถ มีพื้นที่อยู่ระหว่างเส้นลองติจูดที่ 18 องศา 07 ลิปดา ถึง 18 องศา 29 ลิปดา เหนือ และเส้นละติจูดที่ 98 องศา 8.5 ลิปดา ถึง 98 องศา 24 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 990 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 618,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาย อำเภอฮอด และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่โถ ตั้งอยู่ที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 6 (ดอยแม่โถ) เดิม ในท้องที่บ้านเลาลี หมู่ที่ 9 (แยกหมู่บ้านมาจากบ้านแม่โถ หมู่ที่ 1) ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
อาณาเขตทิศเหนือจดเส้นทาง รพช. สายแม่แจ่ม-บ้านพุย อำเภอแม่แจ่ม ทิศใต้จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (ฮอด-แม่สะเรียง) และห้วยแม่ลอด ทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติออบหลวง และบางส่วนของทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088 ทิศตะวันตกจดเขตอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่โถโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ อยู่แนวเดียวกับเทือกเขา ดอยอินทนนท์ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,699 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยจะมีความสลับซับซ้อนและลาดชันจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ กล่าวคือ ทางทิศใต้จะมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่าและความลาดชัน เฉลี่ยน้อยโดยเฉลี่ยประมาณ 15-20% ส่วนทางทิศเหนือของพื้นที่จะมีความลาดชันมากขึ้นไปตามลำดับประมาณ 20-48% มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดดอยกิ่วไร่ม้ง อยู่ในท้องที่บ้านปางหินฝน ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม โดยมีความสูง 1,699 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่โถตั้งอยู่ที่ความสูงประมาณ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 25 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 20 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 4 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 30 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี สูงสุดประมาณ 27 องศาเซลเซียส และต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,030 มิลลิเมตร/ปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ชนิดป่าและพันธุ์ไม้ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่โถ ประกอบด้วย ป่าดิบชื้น พบทางด้านทิศเหนือของพื้นที่ในเขตอำเภอแม่แจ่ม พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง ยาง จำปีป่า ยมหอม มะม่วงป่า เติม ตะคร้ำ ตีนเป็ด พืชพื้นล่างประกอบด้วย ตะคร้าน หมากเต้า พลูดิน เครือต่วย และกระชายป่า ป่าดิบเขา พบในระดับความสูงจากน้ำทะเล 800-1,400 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อแพะ ก่อเดือย ก่อตาหมู รักใหญ่ จำปาป่า พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าคมบาง ถั่วแระป่า ค้างคาวดิน สาบหมา เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบโดยทั่วไปสลับกับป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก แดง ประดู่ ตะแบก เสลา ตะเคียนหนู ยาง พืชพื้นล่างประกอบด้วยพวกไม้ไผ่และหญ้า ป่าสนเขาและป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำเภอฮอด จะเห็นป่าสนเขาขึ้นปะปนกับป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ สนสามใบ ก่อ เหมือด รักใหญ่ เต็ง รัง เหียง พลวง พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ไผ่โจด และหญ้าอื่นๆ
พันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย กระทิง กวางป่า เลียงผา เก้ง หมีควาย ชะนี ลิง ค่าง อีเห็น กระต่ายป่า หมูป่า และช้างป่า ซึ่งมักจะอพยพหากินไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยสลับกับดงสามหมื่นและป่าแม่ปาย นก ประกอบด้วย นกยูง ไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ไก่ป่า นกแก้ว นกขุนทอง นกขุนแผน เหยี่ยว นกหัวขวาน ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วยงูเหลือม งูหลาม งูเห่า ตะกวด แย้ เต่า ตะพาบน้ำ ฯลฯ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วย กบชนิดต่างๆ เขียด อึ่งอ่าง ฯลฯ ปลา ยังไม่มีการสำรวจ จะมีปลาอยู่ตามลำห้วยและแม่น้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำแม่แจ่มมีปลามากมายหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

จุดชมทิวทัศน์ดอยแม่โถ
อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเทือกเขาและผืนป่าได้กว้างไกล ช่วงฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกยามเช้าปกคลุมอย่างสวยงาม ณ จุดชมวิวแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จแม่โถประมาณ พ.ศ. 2523 เส้นทางในการเดินทาง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 จากฮอดไปแม่สะเรียง ถึง กม.ที่ 54 บ้านกองลอย แยกขวามือไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1270 ถึงบ้านเลาลี ระยะทาง 16 กิโลเมตร แยกขวามือเข้าไปอีก 500 เมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่โถ

น้ำตกแม่แอบ
ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางไปจุดชมทิวทัศน์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่โถ ไปจนถึงบ้านแม่แอบ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร มีเส้นทางแยกจากบ้านแม่แอบไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงจุดจอดรถ เดินเท้าอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีน้ำตกที่มีความกว้างประมาณ 10-12 เมตร

น้ำตกแม่ลิด
ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (ฮอด-แม่สะเรียง) ไปจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 63 แยกซ้ายไปตามเส้นทางเข้าหมู่บ้านทุ่งหลวง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงบ้านทุ่งหลวงแล้วเดินเท้าจากหมู่บ้าน ไปอีกประมาณ 500 เมตร จะมีน้ำตกที่มีความกว้างประมาณ 8-10 เมตร มีความสูงประมาณ 12-15 เมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก

ล่องแก่งลำน้ำแม่แจ่ม
จากเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (ฮอด-แม่สะเรียง) แยกเข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1088 เส้นทางไปอำเภอแม่แจ่มถึงบ้านนาบางดิน เดินทางต่อไปจนถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มถ.2 (สลักหิน) ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการล่องแก่งไปตามลำน้ำแม่แจ่ม แล้วไปขึ้นฝั่งที่บ้านกองแป ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่


กิจกรรมท่องเที่ยว เส้นทางสายบ้านแม่ปิงน้อย-สบแม่ตูม-สบห้วยกองแป
เดินทางโดยรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ไปตามเส้นทางสายบ้านแม่ปิงน้อย-บ้านอมแรด แวะเที่ยวชม น้ำตกห้วยแม่เจือ แล้วเดินทางโดยรถยนต์ไปจนถึงบ้านอมแรด โดยให้รถยนต์กลับไปรอที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และพักค้างแรมที่ริมแม่น้ำตูม จากนั้นเดินทางไปชม ถ้ำหลวงแม่ตูม ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปทรง คล้ายเสาหินในวิหารโบราณ รอบ ๆ เสาหินจะมีหินงอกมองดูคล้ายเทวรูปมีลักษณะแปลกประหลาดสวยงามมาก มีค้างคาวอาศัยอยู่ภายในถ้ำเป็นจำนวนมาก จากนั้นเดินทางล่องตามลำน้ำแม่ตูมเที่ยวชมธรรมชาติของสภาพป่าเบญจพรรณที่ขึ้นสลับกับสภาพป่าเต็งรัง บริเวณของสองฝั่งแม่น้ำตูมมีลักษณะคล้ายต้นกระบอกเพชรขึ้นอยู่ทั่วไป ในลำน้ำแม่ตูมจะมีแก่งเล็กตลอดลำน้ำไปจนถึงสบห้วยแม่ตูม ซึ่งเป็นจุดที่ลำน้ำแม่ตูมไหลมาบรรจบกับลำน้ำแม่แจ่ม ต่อจากนั้นเดินทางล่องตามลำน้ำแม่แจ่มเพื่อเที่ยวชมสภาพป่าเบญจพรรณที่สมบูรณ์


เส้นทางสายบ้านแม่ขาน-สบแม่ตูม-สบห้วยกองแป
เส้นทางนี้เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวในลักษณะการล่องแพพิชิตแก่งต่างๆ ในลำน้ำแม่แจ่ม โดยเริ่มต้นล่องแพจากจุดตรวจสอบแม่ขาน หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มถ.2 (หน่วยสลักหิน) ผ่านแก่งสบขาน แก่งคอม้า แก่งท่าเรือ แก่งคด แก่งหลวง แก่งออบ หาดเชียงดา วังควายเผือก หมู่บ้านสบลองชมความงามของธรรมชาติของหน้าผา และสภาพป่าสองฝั่งลำน้ำแม่แจ่ม ผ่านสบแม่ตูมจนสิ้นสุดการเดินทางท่องเที่ยวโดยการล่องแพ รวมเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 11-12 ชั่วโมง


กิจกรรมการบริการและการเตรียมการ
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอเช่าแพยางได้จากสวนป่าแม่แจ่ม อุทยานแห่งชาติออบหลวง และของเอกชน แต่การล่องแพในเส้นทางนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากอุทยานแห่งชาติแม่โถก่อน


สิ่งอำนวยความสะดวก
บ้านพักอุทยานแห่งชาติ ยังไม่มีบ้านพักนักท่องเที่ยว แต่ทางอุทยานมีบ้านพักรับรองจำนวน 4 หลัง รองรับผู้เข้าพักประมาณ 30 คน ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง โทร 09 - 558 9913
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ มีสถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


การเดินทาง
รถยนต์
จากตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 (เชียงใหม่-ฮอด) ระยะทาง 89 กิโลเมตร ถึงอำเภอฮอด แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (ฮอด-แม่สะเรียง) ผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบหลวง ระยะทาง 54 กิโลเมตรถึงบ้านกองลอย แล้วเดินทางแยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1270 (บ้านกองลอย-บ้านแม่โถ) ระยะทาง 16 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่โถ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากทางแยกประมาณ 500 เมตร


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
ตู้ ปณ.10 ปณจ.ฮอด อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ 50240
โทรศัพท์ 0 5381 8348 อีเมล maetho.np@hotmail.com

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิงตอนบน มีสัตว์ป่า นานาชนิด และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกม่อนหินไหล อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่ง ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 มีเนื้อที่ประมาณ 878,750 ไร่ หรือ 1,406 ตารางกิโลเมตร
เดิมบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว ป่าแม่งัด และป่าแม่แตง จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 14 มกราคม 2518 และเป็นป่าปิดตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 มกราคม 2522 ในเดือนมีนาคม 2524 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 280/2524 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2524 ให้นายสันติ สีกุหลาบ นักวิชาการป่าไม้ 4 ออกไปสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นที่ป่าบริเวณดอยเวียงผา จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่ นายอรุณ สำรวจกิจ มีจดหมายลงวันที่ 14 มกราคม 2524 ถึงอธิบดีกรมป่าไม้
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2526 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1/2526 ลงวันที่ 3 มกราคม 2526 ให้นายไมตรี อนุกูลเรืองกิจ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมบริเวณดอยเวียงผา และบริเวณน้ำตกม่อนหินไหล จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 293/2528 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2528 ให้นายอรุณ เหลียววนวัฒน์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจและจัดตั้งบริเวณป่าแม่กอง ป่าแม่งัด ป่าเชียงดาว และป่าฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามรายงานหนังสือ ที่ กษ 0713(ดก)/1 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 ปรากฏว่า พื้นที่การสำรวจทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ป่าแม่แตง (บางส่วน) ป่าแม่งัด (บางส่วน) และป่าเชียงดาว (บางส่วน) มีสภาพป่าและธรรมชาติเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่บริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบ กองอุทยานแห่งชาติ ได้จัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติศรีลานนา” และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมอุทยานแห่งชาติศรีลานนา จังหวัดเชียงใหม่ เห็นชอบกับโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติดังกล่าว ทั้งได้มีบัญชาและกำชับว่า “ให้ดูแลรักษาป่าให้ดีอย่าปล่อยให้มีการบุกรุกทำลายจนสภาพป่าไม้ธรรมชาติสวยงาม และสิ่งแวดล้อมต้องสูญเสียไป” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติแล้ว ตามหนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ที่ นร 0202/21487 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530
ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ดำเนินการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว ป่าแม่งัด และป่าแม่แตง ในท้องที่ตำบลปิงโค้ง ตำบลเชียงดาว ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว ตำบลสันทราย ตำบลป่าไหน่ ตำบลบ้านโป่ง ตำบลน้ำแพร่ ตำบลป่าตุ้ม ตำบลแม่แวน ตำบลแม่ปั๋ง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว ตำบลบ้านเป้า ตำบลช่อแล ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่ 120 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2532 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 60 ของประเทศ มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคเหนือ หรือใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง สลับซับซ้อน ติดต่อกันกว้างขวางของทิวเขาผีปันน้ำ ประกอบด้วย ดอยเวียงผา ดอยหลวง ดอยปุย ดอยปันวา ดอยผาเกี๋ยง ดอยขุนโก๋น ดอยแม่ระงอง ดอยแม่แงะ และดอยโตน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 400-1,718 เมตร โดยมียอดดอยจอมหด เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยต่างๆ ที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล และแม่น้ำปิงตอนบน ได้แก่ น้ำแม่งัด น้ำแม่โก๋น น้ำแม่แวน น้ำแม่สะรวม น้ำแม่ธาตุ และน้ำแม่ขอด

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,156 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชในอุทยานแห่งชาติศรีลานนาประกอบด้วย
ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่ปกคลุมพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติมากที่สุด กระจายอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,200 เมตร และในระดับ 800-1,200 เมตร จะพบสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกับป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง รักใหญ่ เคาะ ก่อแพะ เหมือดหลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ กระเจียวแดง เครือข้างครั่ง พ่อค้าตีเมีย ย่านลิเภา เฟินก้านดำ มะแฮะนก เขิงแข้งม้า เครือเดา เอื้องสาย เอื้องผา และเอื้องม้าวิ่ง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบอยู่ตามพื้นที่หุบเขาหรือริมห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก มะแฟน รกฟ้า ตะคร้อ แสลงใจ เครือไหล เปล้าหลวง ตะแบกใหญ่ ปอยาบ ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่บงป่า ไผ่ไร่ และไผ่รวก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ขมิ้นป่า เฟิน ว่านสากเหล็ก เองหมายนา บุกคางคก เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบขึ้นอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นอยู่ตลอดปี พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางแดง มะเม่าสาย ตะแบกเปลือกบาง มะตาด ดำดง เลือดควายใบใหญ่ ไผ่หอบ ไผ่หก ต๋าว ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เครือไหล ก๋าวเครือ หนามปู่ย่า เครือพันซ้าย เครือนมวัว หยั่งสมุทร หวาย ข่าป่า เป็นต้น

ป่าสนเขา พบตามสันเขาที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ดาวราย ก่อหมาก มะม่วงหัวแมลงวัน ส้มปี้ แข้งกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ อ้าหลวง หนาดคำ ย่านลิเภา เฟินก้านดำ เป็นต้น

ป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุมพื้นที่ชุ่มชื้นและเย็นตามขอดเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ทะโล้ กำยาน หน่วยนกงุ้ม มะห้า รักเขา มันปลา ก่อพวง ก่อขาว มะขามแป ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ กระเจียวแดง เครือข้างครั่ง พ่อค้าตีเมีย ย่านลิเภา เฟินก้านดำ มะแฮะนก และหญ้าต่างๆ เป็นต้น

สัตว์ป่าประกอบด้วย เก้ง อ้นกลาง เม่นหางพวง หมาไน ชะมดเช็ด อีเห็นเครือ แมวป่า กระต่ายป่า กระรอกหลากสี หนูท้องขาว ค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวหน้ายาวใหญ่ นกกะลิงเขียด นกกาแวน อีกา นกจับแมลงจุกดำ นกขมิ้นน้อยธรรมดา นกนิลตวาท้องสีส้ม นกกางเขนดง นกยอดหญ้าหัวดำ นกกระจิบธรรมดา นกกระจิ๊ดเขียวปีกสองแถบ นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล งูทางมะพร้าวลายขีด งูสิงบ้าน จิ้งจกดินจุดลาย ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าบินคอสีส้ม กบบัว เขียดจะนา อึ่งอ่างบ้าน อี่งแม่หนาว คางคกบ้าน ปาดแคระป่า เป็นต้น ในบริเวณที่ลุ่ม แหล่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินของสัตว์น้ำและสัตว์ป่าหลากชนิด ได้แก่ นกกะเต็นน้อยธรรมดา นกเป็ดแดง กบนา กบหนอง อึ่งอี๊ดข้างขีด ปลาจาด ปลาแม่แปป ปลาซิวหนวดยาว ปลาเวียน ปลาเข็ม ปลาบู่ ปลาสร้อยขาว
ต้องขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์พืช , www.mistertour.com และ www.siamsouth.com สำหรับข้อมูลและรูปภาพที่มีประโยชน์ต่อบุคคลที่ต้องการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน หรือ ต้องการข้อมูลเพื่อการศึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
ต.บ้านเป้า อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ 0 5347 9090, 0 5347 9079 โทรสาร 0 5347 9090 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

อุทยานแห่งชาติออบหลวง
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติออบหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการ ทั้งมีความสวยงาม และ ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ มีคุณค่าทางโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ทั้งทาง ธรณีวิทยาและคุณค่าทางสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความสวยงามอย่างยิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 345,625 ไร่ หรือ 553 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2508 กรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณริมถนนในท้องที่ตำบลหางดง อำเภอฮอดและตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ร่มรื่น สภาพภูมิประเทศสวยงามแปลกตา มีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ประกอบด้วยโขดผา แมกไม้และลำน้ำที่ไหลแรงผ่านหลืบเขา ที่ชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ออบหลวง” เป็นที่ซึ่งประชาชนชอบไปพักผ่อนชมธรรมชาติความรื่นรมย์อยู่เป็นประจำ จึงได้จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชนในรูปแบบของวนอุทยานตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2509 อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่

ในส่วนที่ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยานออบหลวง ในอดีตเป็นสถานที่พักของพวกทำไม้บริษัทบอร์เนียว ซึ่งในสมัยนั้นการทำไม้สักใช้วิธีลำเลียงล่องมาตามลำน้ำแม่แจ่ม ไม้จะมาวนอยู่ที่ออบหลวงซึ่งเป็นวังน้ำวนและลึกมาก จากออบหลวงที่มีหน้าผาสูงชัน น้ำตกจากหน้าผาสูง บริษัททำไม้จึงตั้งปางพักตรงจุดนี้เพื่อคอยเก็บไม้ที่ไหลมา ไม่ให้ไหลลงไปวังน้ำวน ตามประวัติดั้งเดิมเล่าสืบต่อกันมาว่า ลำน้ำแม่แจ่มสมัยก่อนเรียกว่า “แม่น้ำสลักหิน” เนื่องจากแม่น้ำนี้ได้เจาะภูเขาหินลูกหนึ่งจนทะลุไหลผ่านเป็นลำน้ำตรงที่เรียกว่า “ออบหลวง” ในปัจจุบัน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้

ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนวนอุทยานออบหลวง มาอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ และในต้นปี พ.ศ. 2531 นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้นโยบายและสั่งการให้วนอุทยานออบหลวงดำเนินการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ข้างเคียงโดยรอบวนอุทยาน เพื่อยกฐานะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(อล)/พิเศษ ลงวันที่ 27 เมษายน 2531 และ ที่ กษ 0713(อล)/พิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 รายงานว่าป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม-แม่ตื่น และป่าแม่แจ่ม ที่ทำการ สำรวจพื้นที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาตินี้แต่เดิมได้กำหนดให้เป็นป่าถาวรของชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2509

ต่อมาได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กล่าวคือ ป่าจอมทองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2510) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 84 ตอนที่ 82 วันที่ 21 สิงหาคม 2510 ป่าแม่แจ่ม-แม่ตื่นเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2509) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 83 ตอนที่ 119 วันที่ 31 ธันวาคม 2509 ป่าแม่แจ่มเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 712 (พ.ศ. 2571) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 91 ตอน 225 วันที่ 29 ธันวาคม 2517 เนื้อที่ทำการสำรวจประมาณ 630 ตารางกิโลเมตร มีสภาพป่าสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการมีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงาม และเป็นแหล่งทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง เหมาะสมสำหรับ การจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำการตรวจสอบและได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/1403 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 824/2531 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2531 ให้ นายไชโย ยิ่งเภตรา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 108 ตอน 211 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 68 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อนติดต่อกันเป็นเทือกเขายาวในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อจากดอยอินทนนท์ มีแม่น้ำสายใหญ่ คือ ลำน้ำแม่แจ่มกั้นกลางอันเป็นเขตแบ่งระหว่างอำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง มีลำห้วยหลายสายไหลลงลำน้ำแม่แจ่มและลำน้ำแม่ปิงตอนล่าง ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีที่ราบน้อยมาก เนื่องจากเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน

จากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหน้าผาสูงชัน และมีโขดหินขนาดใหญ่น้อยมากมาย หินที่เป็นองค์ประกอบของพื้นที่ได้แก่ หินแกรนิตและแกรโนไดออไรท์ สลับกับหินซอลท์และหินตระกูลแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ ในชุดหินบลูโตนิคของยุคครีเตเซียส และไทรแอสสีค ประกอบด้วยแร่ควอร์ท และเฟสด์สปาร์ ในท้องน้ำแม่แจ่มมีเกาะแก่งหินขนาดใหญ่มากมาย ริมฝั่งลำน้ำจะมีหาดทรายเกิดจากน้ำพัดพามาเป็นช่วงๆ หลายแห่ง มีก้อนหินกลมประเภทกรวดห้องน้ำของหินควอร์ทไซด์ ควอร์ทแจสเปอร์ และหินชนิดอื่นๆ อยู่หนาแน่น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพป่ามีทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขา จึงมีพันธุ์ไม้แตกต่างกันหลายชนิด เช่น สัก ยาง ประดู่ แดง ตะเคียน ยมหอม มะค่าโมง มะเกลือ ขะเจ๊าะ เก็ดดำ เก็ดแดง รกฟ้า อินทนิล กะบาก จำปีป่า สารภีป่า แคหิน เหียง พลวง เต็ง รัง และไม้สนเขาหรือเกี๊ยะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลก่อต่างๆ พืชพื้นล่างที่สำคัญมี ไผ่ ปาล์ม และเฟิร์น
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ เลียงผา เสือ หมี กวางป่า หมูป่า เก้ง ชะนี ลิง ชะมด กระต่ายป่า นิ่ม ตะกวด และมีนกนานาชนิดประมาณ 200 ชนิด เช่น นกกางเขนดง นกพญาไฟ นกเขาใหญ่ นกเขาเขียว นกดุเหว่า นกหัวขวาน นกกะปูด นกขุนทอง นกแก้ว เหยี่ยวรุ้ง นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกกะท’
ที่มาจากข้อมูลบอกไว้ว่า ออบหลวง มีลักษณะเป็นช่องแคบเขาขาด ที่มีหน้าผาหินขนาบของข้างของลำน้ำ หน้าผาวัดจากสะพานถึงระดับน้ำประมาณ 32 เมตร ส่วนแคบสุดของช่องแคบหน้าผาทั้งสองเพียง 2 เมตร ความยาวของช่องแคบประมาณ 300 เมตร ที่มีความงดงามตลอดเส้นทาง unseen thailand นะเนี่ย ออบหลวง เป็นช่องเขาที่ลำธารไหลผ่าน คำว่าออบเป็นภาษาเหนือแปลว่าช่องแคบที่มีน้ำไหลผ่าน ออบในภาคเหนือมีหลายออบ ออบหลวง ออบนาน ออบพี่กิ่ว แต่ในบรรดาหลายๆ ออบนี้มีอวบหลวงมีชื่อเสียง ดูยิ่งใหญ่อลังการกว่าออบอื่นๆ จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม และได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติออบหลวง มีแหล่งท่องเที่ยวหลายอย่างสังกัดอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติออบหลวง
สิ่งที่น่าสนใจ
ดินแดนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
มีการขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ก่อนยุคประวัติศาสตร์ พบโครงกระดูก เครื่องใช้ เครื่องมือสมัยยุคหิน เก่าแก่มาก นอกจากพบกระดูกมนุษย์โบราณแล้วยังมีภาพเขียนโบราณที่บริเวณผาหินด้วย
หลุมโรงศพสมัยตอนปลาย (สำริด)
ทางขึ้น ตามธรรมชาติ ชันเยอะบ้างน้อยบ้าง เดินเข้าไปอีกร้อยกว่าเมตร จะเจอหลุมหลุมฝังศพมุนษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อ่านแผ่นป้ายบรรยายก็พอจะทราบว่ามันมีลักษณะเป็นหลุมร่องยาวด้านหัวและท้ายมนคล้ายวงรี ขนาดยาว 2 เมตร กว้าง 0.85 เมตร ลึกประมาณ 0.4-0.5 เมตร ในหลุมมีโครงกระดูกมนุษย์เพศหญิง สภาพไม่สมบูรณ์ เหลืออยู่เพียงฟัน 32 ซี่ กระดูก แขนและขา ส่วนกระโหลกศรีษะ กระดูกส่วนลำตัว ผุกร่อนและถูกน้ำเซาะพัดพาไปหมดแล้ว
หลักฐานยังบ่องบอกถึงเครื่องประดับเช่นกำไลสำริดและกำไลเปลือกหอยทะเล รวมถึงลูกปักเปลือกหอย และร่องรอยของภาชนะดินเผาที่ส่วนใหญ่ถูกทุบให้แตกและโรยบนพื้นหลุมก่อนวางศพ

ลำน้ำแม่แจ่ม ธารน้ำแจ่มหรือแม่น้ำสลักหิน
กำเนิดจากเทือกเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไหลผ่านอำเภอแม่แจ่มออกสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอฮอด เป็นลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวคดเคี้ยวไประหว่างโขดเขาและหุบผา มีเกาะแก่งอยู่กลางลำน้ำ สลับกับหาดทรายขาวทิวป่าเขียวขจีและเทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้ลำน้ำแม่แจ่มมีทัศนียภาพสวยงามยิ่ง นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องแพ จากบ้านอมขลูถึงบ้านท่าเรือในท้องที่อำเภอแม่แจ่มอยู่เป็นประจำ บริเวณออบหลวง ทั้งสองฝั่งอำเภอจอมทอง และฝั่งอำเภอฮอด ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะแกนหินและสะเก็ดหิน ขวานหินขัด ชิ้นส่วน เครื่องประดับและภาชนะสำริด ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ที่สำคัญคือ พบโครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยยุคสำริด มีอายุระหว่าง 2,500 - 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล
ถ้ำตอง
อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง “ดอยผาเลียบ” เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คน ละฝั่งลำน้ำแม่แปะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานเล่าขานกันว่าถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หิน ที่มีความยาวมากกล่าวว่าทะลุถึงดอยเชียงดาวทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ที เดียว บริเวณปากอุโมงค์เป็นคูหาขนาดประมาณ 5 X 10 เมตร สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็ก ๆ ขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้ สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนัก วิปัสสนาถ้ำตอง โดยรอบในหุบเขา ร่มครึ้มด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบที่มีขนาดใหญ่ ๆ เช่น มะม่วงป่า ตะเคียนทอง มะหาด กระท้อน หน้าถ้ำมีธารน้ำแม่แปะไหลผ่าน ซึ่งต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกเล็ก ๆ
ถ้ำตุ๊ปู่
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบกว้างยาวประมาณ 1 X 1.5 เมตร ต้องนั่งยอง ๆ เข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือน คณโฑขนาดใหญ่บรรจุได้ประมาณ 20-30 คน มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอก หินย้อยอยู่ทั่วไป บริเวณเพดานค่อนไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป

บ่อน้ำร้อนเทพพนม
อยู่ในเขตป่าแม่แจ่ม ตำบลห่าผา อำเภอแม่แจ่ม ห่างจาก ออบหลวง 14 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 108 ตรงกิโลเมตรที่ 22 เข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้พิภพ มีแรงดันพุ่งขึ้นมากระทบน้ำเย็นใต้ดินเกิดเป็นไอร้อนคุอยู่ตลอดเวลา ความร้อนสูงถึง 99 องศาเซลเซียส บริเวณเป็นที่ราบโล่งเตียนประมาณ 10 ไร่ มีลำห้วยเล็ก ๆ คือ ห้วยโป่งไหลผ่าน จึงมีทั้งธารน้ำร้อนและน้ำเย็นบริเวณเดียวกัน
ดอยผาช้าง
เป็นหินแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ทั้งแท่ง ก้อนใหญ่มหึมา สีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 300 เมตร สูงประมาณ 80 เมตร จากระดับพื้นดิน มีลักษณะเหมือนช้างตัวใหญ่นอนหมอบอยู่ บนยอดดอยผาช้างเป็นจุดชมวิว มองลงไปทางทิศใต้จะเห็นน้ำตกแม่บัวคำอยู่ลิบๆ ใกล้เข้ามาตรงหน้า ดอยผาช้างเห็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ลดเลี้ยวเลียบเหลี่ยมเขาผ่านหน้าผาออบหลวง ลึกจากผาออบหลวงลงไปจะมองเห็นสายธารแม่แจ่มไหลคดเคี้ยวซอกซอนผาหินหายลับไป ทางทิศตะวันออก บริเวณดอยผาช้างด้านตะวันตกมีเพิงผาคล้ายถ้ำเคยเป็นที่อยู่อาศัย ของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์และได้วาดภาพช้างด้วยสีขาวและสีแดงไว้ จากรายงานของนักโบราณคดี กรมศิลปากรยืนยันว่าเป็นครั้งแรกที่พบภาพเขียนโบราณในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ (พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยนายสายันต์ ไพรชาญจิตร และนายประทีป เพ็งตะโก นักโบราณคดีฝ่ายวิชาการกองโบราณคดี) สันนิษฐานว่าภาพเขียนนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 7,500 - 8,500 ปี มาแล้ว ดินแดนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ใกล้เคียงกับช่องแคบออบหลวง กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขุดค้นเพื่อศึกษาวิจัยร่วมกับประเทศฝรั่งเศส เรื่อง Research on Chronology and Evolution of the Prehistoric Cultures of Northern Central Thailand and their Antropological Characteristics โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา
น้ำตกแม่จอนเกิด
จากห้วยแม่จอนหลวง อยู่ในเขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายฮอด - แม่สะเรียง ตรงหลักกิโลเมตร ที่ 9 เดินตามลำห้วย แม่จอนเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ ลักษณะเด่นของน้ำตกนี้เป็นหน้าผาที่กว้างใหญ่มีความสูงไม่น้อยกว่า 100 เมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร น้ำตกที่ตกลงมาเป็นสายเหมือนใยแก้ว แผ่กระจายอยู่ทั่วแผ่นผาและลานหินกว้างไม่ขาดสาย หน้าน้ำตกสวยงามมากเป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน สูงขึ้นไปจากน้ำตกชั้นนี้ยังมีน้ำตกเล็ก ๆ สวยงามแปลกตาอีกสองชั้นอยู่ห่างประมาณ 500 เมตร และ 1,500 เมตร ตามลำดับ
น้ำตกแม่เตี๊ยะ
อยู่บริเวณกลางป่าลึกในห้วยแม่เตี๊ยะตอนกลางในท้องที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง เป็นน้ำตกที่สวยงาม สูงประมาณ 80 เมตร ความกว้าง 40 เมตร น้ำในห้วยแม่เตี๊ยะมีมากตลอดปี ทำให้น้ำตกมีความงามตลอดเวลา นักท่องเที่ยวต้องเดินทางจากบ้านแม่เตี๊ยะเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร
น้ำตกแม่บัวคำเกิด
จากห้วยแม่บัวคำอยู่ในเขตตำบลหางดง อำเภอฮอด ห่างจากออบหลวงไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มากน้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 50 เมตร ลดหลั่นลงมาเป็นเพิงชั้นลงสู่อ่างหินซึ่งซ่อนตัวอยู่ในหลืบผาและแมกไม้ ด้านหน้าน้ำตกมีลานหินกว้าง
การเดินทางโดยรถยนต์
จากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอฮอด แล้วเลี้ยวขวาตรงหอนาฬิกาไปตามทางสายฮอด-แม่สะเรียง จากอำเภอฮอดไปอีก 17 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - จอมทอง เดินทางสายอำเภอเถิน ลี้ ดอยเต่า ลงรถที่หน้าที่ว่าการอำเภอฮอด (หอนาฬิกา) แล้วเดินทางต่อด้วยรถยนต์โดยสารประจำทางหรือรถรับจ้างประจำทาง ฮอด-แม่สะเรียง หรือ ฮอด - อมก๋อย ระยะทางจากฮอดถึงออบหลวง 17 กม. เพียง 15-20 นาที
• โดย รถยนต์โดยสาร (ธรรมดาหรือปรับอากาศ) สายกรุงเทพ-แม่ฮ่องสอน จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอเถิน จังหวัดตาก แล้วแยกเข้าอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จากอำเภอลี้ เข้าอำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เลยฮอดไปอีก 17 กิโลเมตร ตามเส้นทางฮอด-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบหลวงเช่นเดียวกัน
ต้องขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์พืช , www.212cafe.com และ www.bankok-guide.z-xxl.com สำหรับข้อมูลและรูปภาพที่มีประโยชน์ต่อบุคคลที่ต้องการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน หรือ ต้องการข้อมูลเพื่อการศึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
ตู้ ปณ.2 ต.หางดง อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ 50240
โทรศัพท์ 0 81602 1290 (VoIP), 0 5331 5302 โทรสาร 0 5331 7497 อีเมล obluang@fca16.com

อุทยานแห่งชาติแม่วาง

อุทยานแห่งชาติแม่วาง
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติแม่วางครอบคลุมพื้นที่ป่าจอมทอง ป่าแม่ขาน และป่าแม่วาง อยู่ในเขตท้องที่ตำบลสันติสุข ตำบลยางคราม ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ ตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง และตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 74,766 ไร่ หรือ 119.6256 ตารางกิโลเมตร ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังผสม ป่าดิบเขา และป่าสนเขา สัตว์ที่พบเห็นได้แก่ สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก สัตว์น้ำ และผีเสื้อกลางวันๆ
ความเป็นมา
อุทยานแห่งชาติออบขาน ได้มีหนังสือที่ กษ 0712.407/119 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2544 รายงานว่า พื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติออบขานและพื้นที่ใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 4 ป่า คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขาน-แม่วาง อำเภอแม่วาง ป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทอง อำเภอจอมทอง ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม และป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง อำเภอสะเมิง มีสภาพป่าสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เห็นสมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 1224/2544 ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ให้คณะทำงานประกอบด้วย นางดวงดาว เตชะวัฒนาบวร นักวิชาการป่าไม้ 7ว ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชติออบขาน นายธิติพัทธิ์ โพธิ์รักษา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ นายภานุวัฒน์ นันทิสันติกุล เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ดังกล่าว
กรมป่าไม้ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่ทำการสำรวจว่า พื้นที่ที่สมควรอนุรักษ์และจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลแม่แดดน้อย และตำบลแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง ตำบลสันติสุข ตำบลยางคราม และตำบลดอยหล่อ กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขาน-แม่วาง และป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทอง รวมพื้นที่ 437,500 ไร่ โดยผ่านความเห็นชอบจากจากคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 90,000 ไร่ และอยู่ในระหว่างดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมอีก 99,375 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ 189,375 ไร่
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 อุทยานแห่งชาติแม่วางได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 112 ของประเทศไทย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 86 ก ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่วาง เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนของทิวเขาถนนธงชัย ที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 400-1,909 เมตร โดยมีดอยผาตั้งเป็นจุดที่สูงที่สุด นอกจากนี้ยังมียอดเขาต่างๆ ที่มีความสูงแตกต่างลดหลั่นกันมา เช่น ดอยโป่งสมิต สูง 1,547 เมตร ดอยหินหลวง สูง 1,518 เมตร ดอยห้วยหลวง สูง 1,415 เมตร ดอยแม่ลีบ สูง 1,311 เมตร ดอยขุนแม่ซา สูง 1,251 เมตร ดอยผาไล สูง 1,245 เมตร และดอยหน่อ สูง 1,120 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ 3 สาย ได้แก่ น้ำแม่แจ่ม น้ำแม่วาง น้ำแม่ตื่น ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำปิง
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วางได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อน ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 20 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-2,100 มิลลิเมตรต่อปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วางสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าเบญจพรรณ พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้เด่นที่สำคัญ ได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่ แดง มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ และไผ่ชนิดต่างๆ
ป่าเต็งรัง พบที่ระดับความสูง 400-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม
ป่าสนเขา พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 900-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีสนสองใบและสนสามใบเป็นไม้เด่น พันธุ์ไม้อื่นและพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ สารภีดอย ค่าหด หว้า เหมือดคนตัวผู้ เม้าแดง รักใหญ่ ทะโล้ ก่อแป้น ก่อเดือย ก่อแพะ สาบเสือ หนาด กระชายป่า และข่าลิง
ป่าดิบเขา พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น จำปีป่า อบเชย สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง และก่อชนิดต่างๆ
สัตว์ป่าที่พบในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง ได้แก่ เก้ง หมูป่า เสือปลา ลิงวอก ชะนีมือขาว ชะมดเช็ด หมาไม้ เม่นหางพวง ลิ่นชวา กระต่ายป่า กระรอกท้องแดง ค้างคาวดอย เหยี่ยวรุ้ง นกกระทาทุ่ง ไก่ป่า ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกคุ่มอกลาย นกเขาเขียว นกบั้งรอกใหญ่ นกเค้าโมง นกแอ่นตาล นกขุนแผนหัวแดง นกแก๊ก นกโพระดก นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดทอง นกแซงแซวหางปลา นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า เต่าปูลู เต่าเหลือง กิ้งก่าบินปีกแดง แย้ ตะกวด งูเหลือม งูสามเหลี่ยม งูจงอาง อึ่งลาย กบห้วย ปาดบ้าน และคางคกบ้าน
สถานที่เที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่วาง เชียงใหม่
กิ่วเสือเต้น เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับผาช่อ อยู่ไกลจากผาช่อ 1 กิโลเมตร มีความสวยงามไม่แพ้ผาช่อ ลวดลายแตกต่างออกไป มีกรวดและหินค่อนข้างชัดกว่าผาช่อ มีความสูงน้อยกว่าผาช่อ ตั้งอยู่ในตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ
ดอยผาตั้ง อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นดอยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,909 เมตร มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีฝนตกชุกประปรายในฤดูหนาวและฤดูร้อน ดอยผาตั้งมีลักษณะเป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันลมพัดแรงตลอดปี ต้นไม้ไม่สามารถขึ้นเจริญเติบโตได้ในภูเขาทั้งลูก ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้มักจะพบเห็นตลอดทั้งสองข้างทางที่เดินทางเข้าสู่ดอยผาตั้ง
น้ำตกขุนป๊วย อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีจำนวน 3 ชั้น สูง 45 เมตร กว้าง 30 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เป็นต้นน้ำของแม่น้ำวาง สภาพน้ำตกมีความสวยงามตามธรรมชาติ
น้ำตกตาดหมอก อยู่ในตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ มี 1 ชั้น สูง 15 เมตร กว้าง 10 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เป็นต้นน้ำของแม่น้ำตื่น
น้ำตกปลาดุกแดง อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร
น้ำตกโป่งน้อย อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลเป็นจำนวนมาก และตลอดทั้งปี เป็นน้ำตก 3 ชั้น มีความสูง 35 เมตร กว้าง 25 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่
น้ำตกโป่งสมิต อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง การเดินทางเข้าไปน้ำตกต้องเดินเท้าอย่างเดียว เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 25 เมตร กว้าง 5 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ
น้ำตกผาหม่น อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีจำนวน 3 ชั้น สูงประมาณ 30 เมตร กว้าง 25 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เป็นต้นน้ำของแม่น้ำวาง รถยนต์สามารภเข้าถึงได้ตลอดทั้งปี
น้ำตกเมืองอาง อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกของลำน้ำแม่หอยไหลลงสู่ลำน้ำแม่วาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีจำนวน 4 ชั้น สูง 50 เมตร กว้าง 30 เมตร มีน้ำไหลปริมาณมากตลอดทั้งปี สภาพน้ำตกมีความสวยงามตามธรรมชาติ
น้ำตกแม่ป๋วย อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง การเดินทางค่อนข้างลำบากในช่วงฤดูฝน เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 25 เมตร กว้างประมาณ 35 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบสันโดษ เนื่องจากเป็นน้ำตกที่อยู่ห่างไกลชุมชน มีความใสสะอาด บริสุทธิ์จากมลพิษ
น้ำตกแม่วาง เป็นน้ำตกชั้นเดียวสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีความสวยงาม เป็นต้นน้ำของแม่น้ำวาง สภาพป่าโดยรอบน้ำตกเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังผสมสนและป่าดิบเขา ตลอดเส้นทางมีจุดให้ศึกษาธรรมชาติ แอ่งน้ำที่อยู่ใต้น้ำตก เหมาะที่ประกอบกิจกรรม เช่น ว่ายน้ำ เล่นน้ำ การเดินทางจากที่ทำการอำเภอแม่วางไปตามถนน รพช. ประมาณ 36 กิโลเมตร
ผาช่อ เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ที่เกิดจากตะกอนแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นทางเดินของสายน้ำปิงเมื่อหลายพันปีแล้ว ได้เปลี่ยนทิศทางไปทำให้ตะกอนเกิดการก่อตัวเป็นชั้นๆ มีลวดลายที่สวยงามและมีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เมตร มีอาณาบริเวณกว้าง ลวดลายวิจิตรพิสดาร ซึ่งหาชมได้ยาก ตั้งอยู่ที่ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ
ล่องแพแม่แจ่ม ลำน้ำแม่แจ่มอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ ตั้งอยู่บริเวณตำบลแม่แดดน้อย อำเภอแม่แจ่ม โดยรอบลำน้ำแม่แจ่มเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังผสมสนเป็นส่วนมาก

เส้นทางชมทัศนียภาพสายแม่แจ่ม สภาพภูมิทัศน์ตลอดเส้นทางสายอำเภอแม่วาง สู่อำเภอแม่แจ่ม พื้นที่ดังกล่าวมีความสูงจากระดับน้ำทะเลสูง ทำให้สภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จัดให้เป็นถนนสายแห่งการเที่ยวชมความงดงามตามธรรมธรรมชาติ สำหรับผู้ชื่นชอบความงามตามธรรมชาติของขุนเขาสายน้ำ และยอดดอยสูง บรรยากาศหนาวถึงหนาวเย็นตลอดทั้งปี
อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ ตอนล่างของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีทัศนียภาพที่งามตา
ผาแดง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอแม่แจ่ม ตั้งอยู่บริเวณตำบลแม่แดดน้อย อำเภอแม่แจ่ม ต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณตัวหน้าผามีการสลักอักษรโบราณไม่ทราบยุค หรือสมัยไว้ติดหน้าผา เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ได้เข้าเยี่ยมชม
การเดินทาง
รถยนต์ จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอแม่วาง โดยถนน รพช. หมายเลข 12039 และ 10240 (แม่วิน-บ่อแก้ว) ไประยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ การเดินทางสะดวกเป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทาง
ในการท่องเที่ยวควรต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการเดินทาง ทั้งสุขภาพร่างกายและอุปกรณ์ในการเดินทางเครื่องใช้ส่วนตัวให้ครบจะทำให้เราสะดวกในการเดินทางมากขึ้น
ต้องขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์พืช , www.paiteaw.com สำหรับข้อมูล และสามารถติดต่อเพิ่มเติมข้อมูลได้ที่
อุทยานแห่งชาติแม่วาง
ต.สันติสุข อ. ดอยหล่อ จ. เชียงใหม่ 50160 อีเมล reserve@dnp.go.th

ประสบการณ์ความผูกพันธ์ธรรมชาติ

คุณเคยได้ไปทำงานกับป่าไม้ ได้กินข้าวบนเนินเขา ได้เดินชมพร้อมกับทำหน้าที่รักษ์ษาป่าไม้ คุณเคยได้ไปพูดคุยกับประชาชนคนบนดอยที่อาศัยธรรมชาติอยู่กินกับป่าไม้ไหม? คำตอบ(ผมเดานะ) ไม่เคย ถ้าคำตอบคือใช่ ผมอาจเป็นคนหนึ่งที่โชคดีมากกว่าคนที่ตอบว่า ไม่เคย เพราะอะไรเหรอ ผมว่าสิ่งที่ผมจะบอกว่าเพราะอะไรไม่สำคัญมากเท่ากับการที่เราได้ไปสัมผัสหรอกครับ มันเป็นความรู้สึกที่เข้าใจ สัมผัส กับความเป็นธรรมชาติได้ น่าลองไปดูนะครับ อ้อไม่ต้องลอง ไปเลยและควรต้องไปสัมผัส ผมค้างคำตอบว่าเพราะอะไรที่ผมเป็นคนโชคดีกว่าหลายคนที่ได้ทำงานเกี่ยวกับป่าไม้หรือธรรมชาติที่หลายคนยังไม่ได้เข้าถึง คืออย่างนี้ครับ ผมเคยทำงานอุทยานแห่งชาติฯในจังหวัดเชียงใหม่แห่งหนึ่ง ผมขอบอกละกันครับเดี๋ยวจะหาว่าผมโปรโมทเว้อเกินไป แต่ขอบอกนะครับว่าสิ่งที่ผมบอกไปเป็นประสบการณ์ ความรู้สึกส่วนตัวผมเองนะครับ
ครั้งแรกที่ได้ไปทำงานในอุทยานฯผมสัมผัสได้เลยว่าเพื่อนร่วมงานแต่ละคนที่อยู่มาก่อนแล้วยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดี ทักทายพูดเล่นหยอกล้อกัน คุณลองคิดดูสิว่าการที่มีคนๆหนึ่งยิ้มและหัวเราะกับเราเเบบธรรมชาติไม่ได้เสแสร้ง คุณรู้สึกอย่างไร ถ้าคุณเคย คงเข้าใจ และเห็นทุกคนสุขภาพแข็งแรงดีไม่เห็นมีใครเดือดร้อนเลย ได้รู้จักกับพนักงานทุกคนเพราะอะไรเหรอ ผมเป็นคนที่เช็คชื่อพนักงานไง ก็เลยได้รู้จักกับคนหลายคนแม้แต่แม่ค้าในอุทยานฯ(แม่ค้ามีลูกสาวด้วยอิอิ)
ผมเป็นคนที่โชคดีนะที่ได้ทำงานในอุทยานฯหลายอย่าง ต่อมาได้มาทำงานที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ได้ทำเกี่ยวกับสถิตินักท่องเที่ยว ทำให้ผมได้รู้ว่าคนเราสิ่งที่มีความสำคัญกับชีวิตหนึ่งคือเที่ยว แต่คนที่ผมได้รู้จักคือ เที่ยวธรรมชาติ(ไม่ใช่เที่ยวเทคนะครับ) ความสุขของนักท่องเที่ยวธรรมชาติเป็นความรู้สึกที่ยากจะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือให้เราได้รู้ มันเป็นความประทับใจที่สุด ผมขอย้ำนะครับว่า ที่สุด เพราะหนึ่งในนั้นผมเองเคยสัมผัส ในแต่ละปีจะมีคนส่วนหนึ่งมาชื่นชมความงามของธรรมชาติ ที่แสนจะโรแมนติค ทุกคนกลับไปพร้อมกับประสบการณ์ ความทรงจำ และความสุขที่ได้มา
ผมได้เป็นวิทยากรบรรยายความสำคัญของอุทยานฯและทรัพยากรทางธรณี ให้กับนักเรียนนักศึกษา คิดดูว่าเมื่อมีการมาศึกษานั้นก็หมายความว่า เรื่องนั้นสำคัญกับพวกเขามากขนาดไหน และเป็นประโยชน์เท่าไหร่ (คงไม่ได้มาดูวิทยากรพูดแน่นอน) ได้เห็นนักเรียนนักศึกษาเฮฮากันรวมกลุ่มกันทำฝายแม้วกั้นน้ำ นี่คือธรรมชาติให้เราสามัคคีกัน ทำให้เรามีการแบ่งปันช่วยเหลือมีน้ำใจ
ผมเคยพบเคยสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้แล้วที่...... คุณคงจะรู้นะว่าผมหมายความถึงที่ไหน ยังไม่หมดครับยังมีอีกเยอะที่ผมจะมาบอกให้ทุกท่าน(ที่ผมไม่รู้จัก) ได้รู้ ไว้คราวหน้าผมจะมาบอกว่ามีอะไรอีกรับรองว่า สำคัญและคุณต้องไปสัมผัสให้ได้ อย่าลืมนะครับ ต้องไปให้ได้

อุทยานแห่งชาติขุนขาน

อุทยานแห่งชาติขุนขาน
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้ทำการสำรวจและพิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติอันสวยงาม มีน้ำตก หน้าผา ถ้ำ หลายแห่งเหมาะสมให้กรมป่าไม้ทราบและพิจารณา กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 934/2536 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2536 ให้นายสุรศักดิ์ วุฒิอิ่น ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ มาดำเนินการสำรวจจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติขุนขาน”
การดำเนินการสำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนขาน ได้ดำเนินการสำรวจมีเนื้อที่ประมาณ 442,500 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิงและตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รายงานให้ ส่วนอุทยานแห่งชาติและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณที่สำรวจจัดตั้งทับซ้อนกับพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภาคเหนือ 13 แห่ง จึงได้มีมติที่ประชุม “ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขานไปดำเนินการแก้ไข ปัญหาราษฎรร้องเรียนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง ทับซ้อนพื้นที่ทำกินของราษฎรก่อน”
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขาน ได้เข้าร่วมดำเนินการพิจารณาแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของราษฎร ของคณะกรรมการตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาโดยตลอด จนถึง ปี พ.ศ.2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 เห็นชอบผลการเจรจากลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน กรณีป่าอนุรักษ์ภาคเหนือ (เขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1) จำนวน 19 แห่ง ซึ่งปรากฏว่าไม่มีรายชื่ออุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ในข้อเรียกร้องแล้ว สำหรับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประชุมชี้แจง แก่สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จำนวน 6 ตำบล รวมทั้งทำการเดินสำรวจกันเขตที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของราษฎรออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิก อบต. และร่วมกันกำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ พร้อมปรับลดพื้นที่ให้เหมาะต่อการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติในอนาคต ทำให้ขนาดของพื้นที่ลดลงเหลือเนื้อที่ประมาณ 150,000 ไร่
ในปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไปแล้ว

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนขานตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 18 องศา 46 ลิปดา ถึง 19 องศา 02 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 98 องศา 23 ลิปดา ถึง 98 องศา 49 ลิปดาตะวันออก อาณาเขตทิศเหนือจด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ท้องที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้จดพื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ท้องที่ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกจด เขตอำเภอแม่ริม ท้องที่ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตกจด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนโดยทั่วไป มีความสูงตั้งแต่ 500-1,708 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สุงที่สุดคือ ยอดดอยปุงเกี้ย สูง 1,708 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแม่ขาน และแม่น้ำแม่แจ่ม แม่น้ำทั้ง 2 สาย ไหลลงสู่แม่น้ำปิง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไป 23 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,380 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติประกอบไปด้วยป่า 5 ชนิด คือ

ป่าดิบเขา พบตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป บริเวณตอนบนของพื้นที่และบริเวณเทือกเขาแบ่งเขตอำเภอสะเมิงกับอำเภอแม่แจ่ม พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ก่อ สนสามใบ ทะโล้ ตุ้มเต๋น มะขามป้อม จำปี มะส้าน สารภีป่า นมนาง เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วยในระดับความสูง 600-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบตามยอดเขาโดยทั่วไปที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบทางทิศตะวันออกของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สัก เติม สมอไทย เส้า แดง ประดู่ เสี้ยว มะแฟน ซ้อ เป็นต้น

ป่าเต็งรัง พบมากโดยทั่วไปบริเวณภูเขาที่ไม่สูงมากนัก พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง สนสองใบ มะกอก เส้า เสี้ยว เป็นต้น

สัตว์ป่าที่มีมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า เม่น หมาไน หมาจิ้งจอก นิ่ม ตุ่น กระรอก กระต่ายป่า บ่าง ค้างคาว อีเห็น พังพอน เป็นต้น ที่มีน้อยได้แก่ ลิง ชะนี เสือ เลียงผา นกกก

แหล่งท่องเที่ยวสถานที่น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติขุนขาน
จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง กม. 24-25 อุทยานแห่งชาติขุนขาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติขุนขาน บริเวณริมถนนสายสะเมิง-แม่ริม ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24 - 25 ท้องที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ ...
ถ้ำหลวงแม่สาบ อุทยานแห่งชาติขุนขาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติขุนขาน อยู่ท้องที่บ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นถ้ำขนาดกลาง ลึกประมาณ 150 เมตร มีสองชั้นหลายคูหา ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยและบัลลังก์หินสวยงาม กิจกรรม - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา ...
น้ำตกห้วยตาด อุทยานแห่งชาติขุนขาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติขุนขาน อยู่ท้องที่บ้านขุนสาบใต้ ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้ำตกขนาดกลางมีจำนวน 2 ชั้น สูงประมาณ 10 และ 30 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก ...
น้ำตกห้วยแม่นาเปอะ อุทยานแห่งชาติขุนขาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติขุนขาน อยู่ท้องที่บ้านขุนสาบใต้ ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้ำตกขนาดกลางมีจำนวน 2 ชั้น สูงประมาณ 10 และ 30 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก ...
จุดชมวิวทิวทัศน์ป่าแม่แจ่ม กม.36-35 อุทยานแห่งชาติขุนขาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติขุนขาน อยู่บริเวณสองข้างถนนสายสะเมิง - วัดจันทร์ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 36 - 55 ถนนช่วงดังกล่าวลัดเลาะไปตามสันเขา เขตติดต่ออำเภอสะเมิงและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ ..
ผาสามหน้า อุทยานแห่งชาติขุนขาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติขุนขาน อยู่ท้องที่บ้านสบผาหลวง ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน้าผาบนยอดเขา สูง 1,253 เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาอยู่สามด้าน มีเลียงผาอาศัยอยู่บนผานี้ด้วย กิจกรรม – ชมทิวทัศน์

ต้องขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์พืช , www.muangthai.com ,และ www.ezytrip.com สำหรับข้อมูล และสามารถติดต่อเพิ่มเติมข้อมูลได้ที่




อุทยานแห่งชาติขุนขาน
หมู่ที่ 1 ต.แม่สาบ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่ 50250 อีเมล reserve@dnp.go.th

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยี กับ ธรรมชาติ

เทคโนโลยี
ความหมาย คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง หรือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า C&C นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

ธรรมชาติ
ความหมาย คือธรรมชาติในที่นี้หมายถึง ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการ และสุนทรียภาพที่เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของสถานที่นั้นๆ ได้ ธรรมชาติสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะและคุณสมบัติ ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ธรรมชาติที่มีการเคลื่อนไหวหรือ เคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมได้โดยระบบของตัวมันเอง เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และอุทยานฯต่างๆ เป็นต้น
2 ธรรมชาติที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง หรือฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมได้เมื่อถูกทำลายก็จะหมดสภาพไป เช่น ภูเขา ถ้ำ น้ำตก เกาะ แก่ง หาดทราย หาดหิน ทะเลสาบ หนอง บึง และแหล่งที่มีซากดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นเห็นได้ชัดเจน และความสำคัญของแต่ละอย่างย่อมแตกต่างกัน ในปัจจุบันนี้คนในสังคมได้สัมผัสกับเทคโนโลยีมากกว่าธรรมชาติ สถาพแวดล้อมพาไปความห่างเหินธรรมชาติกับมนุษย์น้อยลงไป ทำให้มนุษย์รู้ว่าธรรมชาติคืออะไร แต่ไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริง แม้แต่สัมผัสกับธรรมชาติก็ยากยิ่งนัก คนเราก็เลยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยละเลยหรือลืมไปว่ายังมีสิ่งหนึ่งที่เราควรจะดำรงรักษ์ษาไว้
ทางออกที่ดีที่สุดควรจะให้คนในสังคมไปสัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริง แล้วนำความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีของแต่ละคนไปเผยแพร่ ไปแนะนำ ไปบอกกล่าว ไปเสนอให้กับบุคคลที่ยังไม่เข้าใจในความสำคัญของธรรมชาตินั้น ให้ล่วงรู้ถึงประโยชน์ อยู่ที่ตัวบุคคลของแต่ละคนนั่นเอง เทคโนโลยี สามารถไปด้วยกับธรรมชาติได้ และธรรมชาตินั้นก็เหมือนกัน ถ้าหากเราให้ความสำคัญทั้งสองอย่างเท่าๆกันแล้ว ปฏิบัติไปด้วยกันแล้วผมว่า ยากที่จะมีปัญหา
ดังนั้น เราอยู่กับความทันสมัยในโลกปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าไปได้มาก แล้วยังมีสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมชาติอยู่ใกล้ตัวเรา เราสามารถสัมผัสกับมันได้ มีอากาศที่สดชื่น มีต้นไม้ปกคลุมให้ความเย็น ให้บรรยากาศที่สบาย เราควรจะรักษ์ษาสิ่งเหล่านี้ไปด้วยกัน แล้วสิ่งที่ตามมาไม่ใช่ใครอื่นหรอกที่จะได้รับ นั่นก็คือ ลูกหลานของเราหรือคนรอบข้างที่เรารักนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี

วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี

ข้อมูลทั่วไป
วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสีอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง มีเนื้อที่ประมาณ 9,375 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2537 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ : จดป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง
ทิศใต้ : จดป่าขุนแม่กวงและป่าสันทราย
ทิศตะวันออก : จดแนวเขตสวนป่าแม่หอพระ แปลงที่ 2518 (สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้)
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง สลับกับหุบเขาและลำห้วย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 400-900 เมตร บริเวณน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี ลักษณะทั่วไปเป็นพื้นที่ราบและหุบเขาคล้ายกับกะทะ มีสภาพป่าสมบูรณ์และร่มรื่น มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณ มีจุดชมวิวที่สวยงาม ลำห้วยที่สำคัญคือห้วยแม่ป๋อน
ทิศตะวันตก : จดป่าสันทรายป่าแม่แตง
พืชพรรณและสัตว์ป่า
พันธุ์ไม้ที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ขนาดโตและเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้สัก แดง ตะแบก ตีนนก เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ มะค่า ตะเคียน ส้าน ยอป่า กะบก ไม้พื้นล่างจะเป็นจำพวก เฟิร์น ว่าน กล้วยไม้ดิน และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ตามลำธารและน้ำตก
สัตว์ป่าที่พบเห็นในปัจจุบันมีสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า กระรอก กระแต จิ้งเหลน แย้ กิ้งก่า พังพอน ตุ่น งู นกกระปูด นกกระจิบจุดดำ นกกางเขนบ้าน เป็นต้น

น้ำตกบัวตอง
น้ำตกบัวตอง เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีลักษณะพิเศษเป็นธารหินปูน มีความสูงประมาณ 100 เมตร มีความลาดชันประมาณ 50 องศา มีทั้งหมด 2 ชั้น นอกจากนี้ตลอดลำธารน้ำตกชึ่งจะไหลลงสู่ลำห้วยแม่ป๋อน จะมีความร่มรื่นและมีน้ำตกขนาดเล็กๆ สวยงามเป็นสถานที่เหมาะในการพักผ่อนสายตาได้เพราะดูแล้วทำให้สบายตามาก

น้ำพุเจ็ดสี
เป็นบ่อน้ำพุเย็น มีขนาด 6 X 8 เมตร มีน้ำพุไหลพุ่งออกจากใต้ดินตลอดปี น้ำใส เป็นประกายสีรุ้งเมื่อกระทบแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่ทำให้เกิดน้ำตกบัวตอง โดยน้ำจะไหลไปตามลำธาร จนถึงน้ำตกบัวตอง เป็นระยะทางประมาณ 100



สถานบางที่อาจจะเป็นที่รู้จักกันมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวและกลุ่มคนที่ยังไม่มีโอกาสไปสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติ แต่การที่นักท่องเที่ยวรู้จักมากหรือน้อยไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือ ณ สถานที่แห่งนั้นเมื่อเราได้ไปเที่ยวหรือสัมผัสกับสถานที่แล้วเรารู้สึกผูกพันแล้วเราเอาความผูกพันมาเก็บเป็นความทรงจำที่ดีๆของชีวิตหนึ่งๆได้ โดยไม่จำเป็นว่า สถานที่แห่งนั้นจะมีคนรู้จักมากน้อยแค่ไหน ถ้าสิ่งที่เรามีความทรงจำดีๆแล้วที่นั่นแหล่ะ ดีแล้ว

การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางไปวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี ตามถนนสายเชียงใหม่ - อำเภอพร้าว ตรงหลักกิโลเมตรที่ 48 - 49 ก็จะมีทางแยกขวามือเข้าไปวนอุทยาน ฯ อีกประมาณ 2.6 กิโลเมตร ก็จะมีทางเลี้ยวขวาเข้าวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก

ต้องขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์พืช , thaiforestbooking.com , atcloud.com และ taklong.com สำหรับข้อมูลและรูปภาพหรือจะติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี
ต.แม่หอพระ อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ 0 5328 2385 อีเมล reserve@dnp.go.th

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้

อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้

อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอบ้านธิ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง มีพันธุ์ไม้มีค่าและสัตว์ป่าที่สำคัญหลายชนิดและประกอบ ด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งเช่น น้ำตก อ่างเก็บน้ำ เขื่อน หน้าผา และยอดเขาที่สูงเด่น เป็นต้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320,750 ไร่ หรือ 513.20 ตารางกิโลเมตร
เมื่อปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรบ้านแม่ตะไคร้ ได้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ การปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษ โดยเฉพาะการประกอบอาชีพเป็นไปด้วยความยากลำบาก ราษฎรมีความเป็นอยู่แร้นแค้น พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพและส่งเสริมคุณธรรม เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคงถาวร พอกินพอใช้ตามอัตภาพ และให้ยึดถือหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพการครองเรือน เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรในท้องถิ่นที่ใกล้เคียง
ต่อมาทรงมีรับสั่งและมีหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการ ให้กรมป่าไม้ โดยกองอุทยานแห่งชาติดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาค้นคว้าตามธรรมชาติ การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและสัตว์ป่า โดยให้ดำเนินการสนองพระราชดำริในการปรับปรุงพื้นที่เป็นที่อยู่ธุดงค์สถานของพระภิกษุสามเณร และเป็นที่ปฏิบัติธรรมของประชาชนทั่วไป ให้ชื่อโครงการว่า “โครงการพัฒนาชนบทยากจนตามพระราชดำริ” การดำเนินการตามแผนงานโครงการเบื้องต้น ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเลขานุการ กปร. จึงนับได้ว่าเป็นวนอุทยานที่มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น
ต่อมาในปี 2530 วนอุทยานแม่ตะไคร้ ได้ส่งข้อมูลการสำรวจเบื้องต้น เพื่อยกฐานะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งให้ นายโกศล สงศิริ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 3 ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ และในปี 2531 อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ได้รายงานเพิ่มเติมว่า พื้นที่ของวนอุทยานที่ดำเนินการอยู่แล้ว และพื้นที่ป่าผนวกเข้าเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ป่าแม่ออน อำเภอสันกำแพง และป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร เป็นพื้นที่ป่าประกอบด้วยสภาพป่าที่สมบูรณ์ และมีอิทธิพลต่อพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใช้ในการเกษตรกรรมของราษฎรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญนานาชนิด สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง เหมาะสมที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ขณะนี้สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำลังดำเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504


ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีความสูงตั้งแต่ 400-2,031 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1 อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง ภูเขาเป็นภูเขาหินปูน มีป่าเบญจพรรณป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้า ขึ้นอยู่โดยทั่วไปตามสภาพพื้นที่และความสูงของภูเขาจากระดับน้ำทะเลปานกลางต่างๆ เป็นป่าต้นน้ำของห้วยแม่ตะไคร้ ห้วยแม่ออน ห้วยแม่ทา และห้วยแม่กวง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน โดยอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า

ในป่าแต่ละชนิดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จะพบพันธุ์ไม้ที่เด่นๆ ซึ่งเป็นพืชหายาก และไม้เฉพาะถิ่นชนิดต่างๆ ซึ่งจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
- ไม้ยืนต้น ได้แก่ ไม้พยอม, ไม้ตะเคียนทอง, ไม้มะค่าโมง, ไม้จำปีป่า
- ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ได้แก่ เฟิร์น, กุหลาบแดง เป็นต้น
- ไม้เถาเลื้อย ได้แก่ สะบ้าลิง, เครือออน เป็นต้น
- พืชเกาะอาศัย ได้แก่ กล้วยไม้ชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด
- พืชพวกกาฝาก ไดแก่ ดอกดินแดง, ขนุนดิน เป็นต้น
สัตว์ป่า
ภายในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ พบสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หลากหลาย เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ท้องที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติขุนแจ ท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ท้องที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์อยู่ จึงสามารถพบสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่เพื่อหลบภัย และเป็นแหล่งอาหาร จากการสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ สามารถจำแนกสัตว์ป่าเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วนนม ได้แก่ เก้ง กวางป่า กระต่ายป่า ลิง ชะนี ชะมด เม่น อีเห็น เสือโคร่ง หมูป่า เลียงผา และหมี เป็นต้น
- นกชนิดต่างๆ ได้แก่ นกกางเขนดง นกแซงแซวหางม่วง นกหัวขวาน นกยูง นกขุนทอง นกยาง ไก่ป่า นกเค้าแมว และนกกระปูด เป็นต้น
- สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น กิ้งก่าชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ และเต่า เช่น เต่าปูลู เต่าหก ตะกวด และแย้ เป็นต้น
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ อึ่ง ปาด ชนิดต่างๆ เป็นต้น
- ผีเสื้อและแมลง เช่น ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ กว่างซาง ด้วงคีมยีราฟ


การเดินทาง

อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 35 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอดอยสะเก็ดประมาณ 17 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ บ้านแม่หวาน หมู่ที่ 3 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
การเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 118 (เชียงใหม่ - เชียงราย) จากสี่แยกศาลเด็ก ผ่านอำเภอสันทราย, อำเภอดอยสะเก็ด ถึง กม. ที่ 33 + 200 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ บ้านแม่หวาน หมู่ที่ 3 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
36 หมู่ที่ 3 บ้านแม่หวาน ต.ป่าเมี่ยง อ. ดอยสเก็ด จ. เชียงใหม่ 50220
โทรศัพท์ 053 818348, 081 5955405 อีเมล reserve@dnp.go.th